28 ตุลาคม 2554

ปรัชญาซูโม่


S.U.M.O.

ปรัชญาซูโม่ คู่มือการใช้ชีวิตให้รื่นรมย์และรุ่งโรจน์


S.U.M.O. = SHUT UP , MOVE ON   หยุด มอง ฟัง และก้าวต่อไป





1. การแสดงความรับผิดชอบต่อชีวิตของเรา @ เปลี่ยนเสื้อยืดของคุณ


-         ประเมินรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาด้วย 3 คำถาม

1.  ใครคือบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในชีวิตของคุณ
2.  ปัจจุบัน ใครควรได้รับเครดิตมากที่สุดในการค้นพบตัวเองในชีวิตของคุณ
3.  คุณมักปฏิบัติตามคำแนะนำ และความความคิดเห็นของใครมากที่สุด
-         ตัวคุณเองไงล่ะ
-         เพราะอย่างนี้คุณคือคนที่ต้องรับผิดชอบตัวคุณเอง
-         คนสำคัญที่สุดที่คุณเคยคุยด้วย คือตัวคุณเอง
-         คนทีมักกล่าวโทษผู้อื่น มักจะสวมเสื้อยืดที่เขียนว่า “เหยื่อ”
-         วิกฤตการณ์กล่าวโทษผู้อื่น (BLAME SOMEONE ELSE ; BSE)

-         คุณใส่เสื้อยืดเหยื่อเพราะ

1.  คุณรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกอื่น
2.  มีการยอมรับนับถือตนเองในระดับต่ำ มีภาพลักษณ์ไม่ดีเกี่ยวกับตนเอง
3.  มันเป็นนิสัย
4.  รู้สึกดีที่ได้สวมใส่มัน เพราะเป็นข้ออ้างที่ดี ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบ

-         วิธีการเปลี่ยนเสื้อยืด

+  ปิดระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ แล้วควบคุมชีวิตของคุณด้วยตัวคุณเอง
+ คุณอาจเคยเป็นเหยื่อ แต่ตอนนี้คุณต้องเป็นผู้รอดชีวิตให้ได้
+ ระมัดระวังภาษาที่คุณใช้
+ หยุดนั่งฝันว่าชีวิตคุณจะดีขึ้นเอง แล้วก้าวต่อไปยังการลงมือทำให้มันดีขึ้นจริงๆ




2. การควบคุมความคิดของเรา @ พัฒนาวิธีการคิดเชิงบวก

-         การตระหนักถึงวิธีการคิดของเราเป็นวิธีการที่มีพลังมากที่สุดในการควบคุมชีวิตของเราเอง

-         สิ่งที่มีผลกระทบต่อความคิดของคุณ

1.  ภูมิหลังของคุณ
2.  ประสบการณ์ในอดีต
3.  ผู้คนที่อยู่รอบตัวของคุณ
4.  สื่อต่างๆ

-         วิธีการคิดแบบผิดพลาด  4 ประเภท

1.  นักวิจารณ์ภายใน
2.  การเก็บสถิติข้อผิดพลาด
3.  อาการของผู้เสียสละ
4.  การคิดเล็กคิดน้อย
-         วิธีการใช้สมอง มีสามประเภท คือ สมองส่วนเหตุผล ส่วนอารมณ์ , ส่วนพื้นฐาน
-         ต้องพยายามฝึกใช้สมองส่วนเหตุผล นั่นคือการถามคำถามกับตัวเอง คำถามที่ดีและถูกต้องด้วย
-         ระบบกระตุ้นร่างแห = ทำหน้าที่กลั่นกรอง เพื่อช่วยให้คุณสังเกตข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งที่คุณสนใจ
-         หากคิดแต่ข้อผิดพลาด สิ่งไม่ดี ระบบก็จะกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆ ให้คุณเห็นแต่สิ่งนั้นๆ

-         คำถาม 7 ข้อ เพื่อการก้าวต่อไป

1.  ประเด็นนี้มีความสำคัญเท่าไหร่จากคะแนนเต็มสิบ
2.  ประเด็นนี้จะมีความสำคัญอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า
3.  ปฏิกิริยาของฉันเป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิผลหรือไม่
4.  จะควบคุมหรือพัฒนาสถานการณ์นี้ได้อย่างไร
5.  สามารถเรียนรู้อะไรจากสถานการณ์ดังกล่าวได้บ้าง
6.  สามารถทำอะไรที่แตกต่างออกไปในครั้งหน้าได้บ้าง
7.  มองเห็นอะไรที่เป็นข้อดีจากเรื่องนี้บ้าง
-         หากคุณไม่พอใจกับคำตอบที่คุณได้รับจากชีวิต  ก็จงเปลี่ยนคำถามเสียใหม่





3.ทำความเข้าใจผลกระทบจากความล้มเหลว และฟื้นฟูตัวเองจากผลดังกล่าว(ช่วงเวลาฮิบโป)

-         บางครั้งก่อนเราจะ SUMO เราก็ต้องการเวลาพักสักนิด เหมือนฮิบโปนอนในโคลน
-         ช่วงเวลาฮิบโปเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิผลแต่อย่างใด


            ข้อแนะนำสามประการสำหรับช่วงฮิบโป

1.  จงระมัดระวังบุคคลที่คุณกำลังคุยด้วย (มันอาจทำให้คุณแย่ลงได้)
2.  จงระมัดระวังจำนวนคนที่คุณพูดคุยด้วย (อย่ามากไป มันเป็นการตอกย้ำและทำให้คุณดูน่าเบื่อด้วย)
3.  จงระมัดระวังอย่างจมอยู่ในช่วงเวลาฮิบโปนานเกินไป (มันทำให้คุณก้าวไปได้ยาก


วิธีการช่วย คนที่กำลังอยู่ในช่วงฮิบโป

อย่าแกล้งทำเป็นฟัง ต้องเอาใจใส่อย่างเต็มที่
อย่าบอกว่า “เรื่องแบบนี้เคยเกิดกับฉันมาก่อน” , “ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร”
อย่าบุกรุกช่วงเวลาฮิบโปของคนอื่น เพื่อนำมาเป็นของตัวเอง (อย่าเล่าเรื่องของตัวเองแทน)
อย่าบอกว่า “มันแย่มาก” เลือกประโยคให้เหมาะสม
ปล่อยให้เขาได้ระบาย ร้องไห้บ้างถ้าจำเป็น บางครั้งให้อยู่คนเดียวบ้าง
ใช้อารมณ์ขันเพื่อผ่อนคลาย แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากแม้จะได้ผลดี




4. การเพิ่มระดับความเข้าใจ และตระหนักต่อโลกของผู้อื่น @ นึกถึงลูกบอลชายหาดอยู่เสมอ

-         คนเรามักมองต่างมุม เห็นต่างกันเสมอ จงระลึกเอาไว้
-         เรื่องต่างๆ มีสองด้าน หรือมากกว่าเสมอ

-         สิ่งที่มีผลต่อวิธีการมองของเราและการมองของคนอื่นๆ

1.  อายุ
2.  บุคลิกภาพ (เชียร์ลีดเดอร์, ผู้ที่เอาใจใส่, นักออกคำสั่ง, นักคิด)
3.  ภาวะจิตใจในปัจจุบันของเรา
-         การทำความเข้าใจ  การเห็นด้วย

-         วิธีการก้าวไปข้างหน้าในการมองต่างมุม

o   อย่าพยายามสื่อสารกัน ถ้ากำลังโมโห
o   พยายามเต็มที่เพื่อรับฟังผู้อื่น และแสดงให้ทราบด้วยภาษาทางกาย
o   อย่างขัดจังหวะผู้อื่น หรือพูดอยู่ฝ่ายเดียว
o   อย่าจบประโยคให้ผู้อื่น 
o   พยายามเข้าใจมุมมองของพวกเขาอย่างเต็มที่
o   ค้นหาว่าคุณจะสามารถเห็นด้วยกับอะไร แทนการค้นหาว่าอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย
o   เมื่อเขาพูดจบ คำถามแรกที่ควรถามคือ “มีอะไรอยากเสริมอีกหรือไม่”
o   ถามคำถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ชัดเจนเสียก่อนที่จะเริ่มต้นแบ่งปันมุมมองของคุณ
          
ลืมกฎทองคำที่ว่า จงปฏิบัติต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับที่คุณต้องการได้รับปฏิบัติ
เปลี่ยนเป็นจงปฏิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่พวกเขาต้องการจะได้รับ
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการหรืออยากได้อะไรเหมือนๆ กับเรา




5. การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการปฏิบัติ ไม่ใช่แค่ความตั้งใจ @ จงฉวยวันนี้เอาไว้ เอาชนะนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

-         ทำไมคนเราจึงผัดวันประกันพรุ่ง

1.  การหลีกเลี่ยงความไม่สะดวก   (บุคคลที่จัดการสิ่งที่ไม่สะดวกต่างๆ มักประสบความสำเร็จเสมอ)
2.  ข้อจำกัดทางอารมณ์
3.  ความกลัวที่จะล้มเหลว
4.  ความใจเย็น
5.  ภาพลวงตาของการลงมือปฏิบัติ (ทำตัวให้ยุ่ง หลอกตัวเองให้ดูเหมือนไม่มีเวลา)

-         วิธีการเอาชนะนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

o   แค่เริ่มต้น
o   การนึกภาพความสำเร็จ ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
o   ลงมือปฏิบัติสิ่งที่น่ารังเกียจเป็นอันดับแรก จำไว้ว่าความพ่ายแพ้ก็มีขอบเขตจำกัด
o   การให้รางวัลแก่ความก้าวหน้าของคุณ
o   การนัดหมายกับคู่ของคุณ (คู่หู คู่คิด หรือคู่รักก็ได้)
o   ต่อต้านความใจเย็นของคุณ

-      ในช่วงเย็นของแต่ละวันจงอย่าเป็นคนที่กล่าวว่า .............ฉันน่าจะ.........ฉันน่าจะ.....
       จงเป็นคนที่กล่าวว่า...................ฉันดีใจที่ได้ทำมัน......ฉันที่ใจที่ได้ทำมัน
-       ทำไมไม่ลองดูล่ะ
-       อย่าทิ้งความฝันของคุณไว้ในถังขยะ
      
จงฉวยวันนี้เอาไว้ & ผู้กล้าเท่านั้นที่จะชนะ


-         แบบฝึกหัด

1.  เลือกงาน ที่คุณต้องการลงมือปฏิบัติ
2.  ทำไมมันจึงมีความสำคัญสำหรับคุณ
3.  ผลลัพธ์ของการไม่ลงมือปฏิบัติคืออะไร
4.  จินตนาการ ความรู้สึกเมื่อสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ “แล้วถ้าเราทำได้ล่ะ”
5.  การผัดวันประกันพรุ่งแบบใด ที่กำลังขัดขวางความก้าวหน้าของคุณอยู่
6.  คุณจะลงมือปฏิบัติอย่างไร เพื่อรับมือกับประเด็นดังกล่าว
7.  คุณจะเริ่มต้นเมื่อไหร่




6. สร้างและสนุกสนานกับชีวิตที่ออกแบบเองได้  @ วิธีออกแบบชีวิตตนเอง

-         แนวคิดต้องห้าม = อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นและไม่อาจควบคุมได้
-         อนาคตแบบไหนที่คุณต้องการ ?
-         ถ้าย้อนกลับไปในชีวิตได้คุณจะทำอะไรให้แตกต่างออกไป

-         คำถามตรวจสอบว่าเราออกแบบสร้างอนาคตของเราหรือยัง

1.  คิดหรือไม่ว่า ความสำเร็จนั้นมีความหมายอะไรกับคุณ
2.  มีเป้าหมายชัดเจน และเฉพาะเจาะจงสำหรับสิ่งที่ต้องการหรือไม่
3.  เคยแบ่งปันเป้าหมายให้คนใกล้ชิดฟังบ้างหรือไม่
4.  มีแผนการสำหรับการบรรลุเป้าหมายหรือไม่
5.  เคยนึกถึงความทรงจำที่คุณต้องการให้ครอบครัว และเพื่อนๆ คุณนึกถึงเมื่อคิดถึงคุณหรือไม่
-         อย่าเปลี่ยนเป้าหมายให้เข้ากับชีวิต แต่จงปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับเป้าหมาย

-         การมองหานิยามความสำเร็จ ระบุความหมายในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

1.    หน้าที่การงานการเงิน     =..............................
2.    ความสัมพันธ์          =.........................................
3.    การพักผ่อน ร่างกาย จิตใจ  = ..................................
4.    การสนับสนุนผู้อื่น   = ........................................

-         คุณต้องการได้รับอะไรในอีก 6 เดือน 12 เดือน ข้างใน ในประเด็นข้างต้น
-         งาน 10 อย่างที่คุณต้องการทำให้สำเร็จก่อนจากโลกนี้ไป
-         ความหวังไม่ใช่กลยุทธ์




       คำถามช่วยให้กำหนดความตั้งใจอยู่กับสิ่งทีคุณต้องการได้รับ

1.  ทำไมเป้าหมายนี้จึงมีความสำคัญกับคุณ
2.  การบรรลุเป้าหมายนี้ได้ มีความหมายต่อคุณอย่างไร
3.  คุณกำลังอยู่ ณ จุดใดในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย มันเป็นจริงได้ไหม ต้องใช้เวลาเท่าไหร่
4.  คุณต้องการทรัพยากรอะไร เพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมาย
5.  อะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้, ขั้นตอนถัดไปคืออะไร, หลังจากนั้นคืออะไร, มีเวลาเท่าไหร่
-     


เริ่มต้นจากจุดที่คุณอยู่ เริ่มต้นจากสิ่งที่คุณมี
และอย่าคลาดสายตาไปจากความฝันของคุณเป็นอันขาด





   บทสรุปปรัชญาSUMO   

1.         การแสดงความรับผิดชอบต่อชีวิตของเรา
2.         การควบคุมความคิดของเรา พัฒนาแนวคิดเชิงบวก
3.         การทำความเข้าใจผลกระทบจากความล้มเหลว และเรียนรู้มัน
4.         การเพิ่มระดับความเข้าใจ และความตระหนักต่อโลกของผู้อื่น
5.         การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการปฏิบัติ ไม่ใช่แค่ความตั้งใจ
       6.         สร้างและสนุกกับชีวิตที่ออกแบบเองได้



 สรุปและเรียบเรียงจากหนังสือปรัชญาซูโม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น